สำหรับคำว่า Internet หากแยกศัพท์จะได้ออกมา 2 คำ คือ คำว่า Inter และคำว่า net Inter หมายถึงระหว่าง หรือท่ามกลาง Net มาจากคำว่า Network หรือเครือข่ายเมื่อนำความหมายของทั้ง 2 คำมารวมกัน จึงแปลได้ว่า การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด
อินเทอร์เน็ตจึงมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ
ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่ถือกำเนิดเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2512 โดยองค์กรทางทหารของสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า ยู.เอส.ดีเฟนซ์ ดีพาร์ทเมนท์ ( U.S. Defence Department ) เป็นผู้คิดค้นระบบขึ้นมา มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อให้มีระบบเครือข่ายที่ไม่มีวันตายแม้จะมีสงคราม ระบบการสื่อสารถูกทำลาย หรือตัดขาด แต่ระบบเครือข่ายแบบนี้ยังทำงานได้ ซึ่งระบบดังกล่าวจะใช้วิธีการส่งข้อมูลในรูปของคลื่นไมโครเวฟ ฝ่ายวิจัยขององค์กรจึงได้จัดตั้งระบบเน็ตเวิร์กขึ้นมา เรียกว่า ARPAnet ย่อมาจากคำว่า Advance Research Project Agency net ซึ่งประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมในหมู่ของหน่วยงานทหาร องค์กร รัฐบาล และสถาบันการศึกษาต่างๆ เป็นอย่างมาก
IP ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็น IP address แบบ 32 เพื่อระบุข้อมูลของผู้ส่งและผู้รับ ในการส่งชุดข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เมื่อมีการเรียกเพจ HTML หรือส่งอีเมล์ ส่วน IP address เป็นการระบุโดเมนใน URL ตามที่มีการขอหรือตามที่อยู่ของอีเมล์ (e-mail address) ·Õèปลายทาง ผู้รับสามารถเห็น IP address ของเว็บเพจ หรือผู้ส่งอีเมล์และตอบสนองโดยส่งข้อความโดยการใช้ IP address ที่ได้รับ
ในระบบอินเตอร์เน็ต เป็นการติดต่อระหว่างเครือข่ายอิสระ ดังนั้น IP เป็นกลุ่มพื้นฐานของกฎ ระเบียบ สำหรับการติดต่อของเครือข่ายหนึ่งกับเครือข่ายอื่น แต่ละเครือข่ายต้องรู้จักที่อยู่ของตัวเองบนอินเตอร์เน็ตและเครือข่ายอื่น ที่มีการติดต่อ ส่วนของอินเตอร์เน็ต ต้องขอหมายเลขเครือข่าย (Network Number) จาก Network Information Center (NIC) หมายเลขเครือข่ายนี้จะถูกส่งไปพร้อมกับชุดข้อมูลของ IP จากเครือข่ายเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต
2. ส่วนของ Local หรือ Host ของ IP address
ส่งข้อมูลนอกจากต้องทราบหมายเลขเครือข่ายแล้ว ต้องรู้ว่าเครื่องใดในระบบเครือข่ายเป็นผู้รับหรือส่งข้อความ ดังนั้น IP address ต้องการหมายเลขเครือข่ายและหมายเลข Host (ซึ่งต้องไม่ซ้ำกับเครื่องอื่นภายในเครือข่าย) บางครั้ง หมายเลขโฮสต์ เรียกว่า หมายเลขเครื่อง ส่วนของ Local address สามารถระบุเป็น Subnetwork (Subnet) ซึ่งทำให้ง่ายสำหรับกรณีที่เครือข่ายมีการแบ่งเป็นเครือข่ายย่อยๆ
ขั้นของ IP address และรูปแบบ
เนื่องจากระบบเครือข่ายมีขนาดหลากหลาย จึงมีกำหนดรูปแบบ TCO address เป็น 4 รูปแบบ หรืออื่น เมื่อมีการขอหมายเลขเครือข่ายจาก NIC
Class A : เป็น address สำหรับเครือข่ายขนาดใหญ่
Class B : เป็น address สำหรับเครือข่ายขนาดกลาง
Class C : เป็น address สำหรับเครื่องข่ายขนาดเล็ก (น้อยกว่า 256 เครื่อง)
Class D : เป็น address สำหรับ Multicast
IP address มักจะใช้ทศนิยม 4 ตำแหน่ง แสดงเป็น 8 บิต แบ่งเป็นช่วง บางครั้งเรียกว่า dot address หรือคำเป็นภาษาเทคนิค เรียกว่า dotted quad notation สำหรับรูปแบบ IP address แบบ Class A มีรูปแบบ “network.local.local.local.” แบบ Class C มีรูปแบบ “network.network.network.local” เลขลำดับของ IP address สามารถแสดงด้วยชื่อ เรียกว่า domain name จำนวน Address ของเครือข่ายที่เป็นไปได้ของแบบแผนตาม IP เวอร์ชัน 4 (ยังเป็นเวอร์ชันที่มีการติดตั้งอย่างกว้างขวาง) ใกล้ที่จะหมดแล้ว (อย่างน้อยที่สุดสำหรับ Class C) อย่างไรก็ตาม IP เวอร์ชันใหม่ (IPV6) ไปขยายขนาดของ IP address เป็น 128 บิต ซึ่งเหมาะสมกับการขยายตัวของ network address สำหรับ host ยังใช้ IPV4 ในส่วน subnet การใช้ Host address ด้วย IPV4 จะช่วยลดการประยุกต์สำหรับหมายเลขเครือข่ายไบต์โดยทั่วไปยังคงใช้ IPV4 แบบ Class C
ความสัมพันธ์ระหว่าง IP address กับ ที่อยู่ทางกายภาค
เครื่อง (หรือที่อยู่ทางกายภาค) ใช้ที่ภายในเครือข่ายแบบ LAN มีความแตกต่างจาก IP Address บนอินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่จะเป็น Ethernet address 48 บิต ซึ่ง TCP/IP มีสิ่งอำนวยความสะดวกเรียกว่า Address Resolution Protocol (ARP) ซึ่งให้ผู้บริหารระบบสร้างตารางการจับคู่ IP address เป็นที่อยู่ทางกายภาค ตารางนี้เรียกว่า ARP Cache
Static versus Dynamic IP address
IP address แบบ Dynamic เป็น IP address จากพูลเป็นการประหยัด จำนวน IP address โดยการใช้ IP address ร่วมในเครือข่ายที่มีผู้ใช้จำนวนมาก เช่น บริษัทขนาดใหญ่หรือธุรกิจบริการแบบ online การให้ IP address แบบนี้ เป็นการให้ IP address ตามการติดต่อการระบบ ทำให้ใช้ IP address น้อยกว่าการใช้แบบ static
Domain Name คืออะไรDomain Name ( โดเมนเนม ) คือ ชื่อเว็บไซต์ (www.yourdomain.com) ที่ท่านสามารถเป็นเจ้าของ ซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกับคนอื่น เพื่อการเรียกหาเว็บไซต์ที่ต้องการ “ชื่อเว็บไซต์” คือ สิ่งแรกที่แสดง หรือ ประกาศความมีตัวตนบนอินเตอร์เน็ตให้คนทั่วไปได้รู้จัก สามารถมีได้ชื่อเดียวในโลกเท่านั้น เช่น www.gict.co.th เมื่อผู้ใช้กรอกชื่อลงไปในช่อง Address ของ Internet Explorer ก็จะส่งชื่อไปร้องถามจากเครื่องแปลชื่อ โดเมน (Domain Name Server) และได้รับกลับมาเป็นไอพีแอดเดรส (Internet Protocol) แล้วส่งคำร้องไปให้กับเครื่องปลายทางตามไอพีแอดเดรส และได้ข้อมูลกลับมาตามรูปแบบที่ร้องขอไป
3. Blog Directory อย่าง BlogFlux Directory ที่มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบล็อกมากมายตามหมวดหมู่ต่าง ๆ หรือ Blog Directoryอื่น ๆ ที่สามารถหาได้จาก Make Manyแห่งนี้ครับ
ประเภทที่ 3 Meta Search Engine
Meta Search Engine คือ Search Engine ที่ใช้หลักการในการค้นหาโดยอาศัย Meta Tag ในภาษา HTML ซึ่งมีการประกาศชุดคำสั่งต่าง ๆ เป็นรูปแบบของ Tex Editor ด้วยภาษา HTML นั่นเองเช่น ชื่อผู้พัฒนา คำค้นหา เจ้าของเว็บ หรือ บล็อก คำอธิบายเว็บหรือบล็อกอย่างย่อ ผลการค้นหาของ Meta Search Engine นี้มักไม่แม่นยำอย่างที่คิด เนื่องจากบางครั้งผู้ให้บริการหรือ ผู้ออกแบบเว็บสามารถใส่อะไรเข้าไปก็ได้มากมายเพื่อให้เกิดการค้นหาและพบเว็บ หรือ บล็อกของตนเอง และ อีกประการหนึ่งก็คือ มีการอาศัย Search Engine Index Server หลายๆ แห่งมาประมวลผลรวมกัน จึงทำให้ผลการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ไม่เที่ยงตรงเท่าที่ควร.
การค้นหาโดยใช้เงื่อนไข "AND" รูปแบบการใช้งาน : A and B โดย A , B เป็น คำหลัก (Keywords) อธิบาย : เราใช้เงื่อนไข "and" ก็ต่อเมื่อ ต้องการให้ปรากฏคำหลัก A และ B ในหน้าเว็บเพจเดียวกัน หมายถึง การค้นหาคำหลักที่มีทั้ง A และ B Example 1: พิมพ์ ไทย and จีน ลงในช่องข้อความแบบมีเงื่อนไข จะหมายถึง ค้นหาคำว่า ไทย และ จีน โดยผลลัพธ์จากการค้นหา จะปรากฏคำว่า "ไทย" และ "จีน" อยู่ในหน้าเว็บเพจเดียวกัน
การค้นหาโดยใช้เงื่อนไข "OR" รูปแบบการใช้งาน : A or B อธิบาย : เราใช้เงื่อนไข "or" ก็ต่อเมื่อ ต้องการค้นหาคำหลัก A หรือ B โดยผลลัพธ์จากการค้นหาจะต้องปรากฏคำหลัก A หรือ B อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ ทั้งสองคำ Example 2:พิมพ์ กีฬา or ดนตรี ลงในช่องข้อความแบบมีเงื่อนไข Super Search จะค้นหาข้อมูลที่ปรากฏคำว่า "กีฬา" หรือ "ดนตรี" ในหน้าเว็บเพจ
การค้นหาโดยใช้เงื่อนไข "NOT" รูปแบบการใช้งาน : A not B อธิบาย : เราใช้เงื่อนไข "not" ก็ต่อเมื่อ ต้องการค้นหา A แต่ไม่ต้องการให้ปรากฏ B อยู่ในหน้าเว็บเพจ Example 3:พิมพ์ กีฬา not ฟุตบอล จะหมายถึง การค้นหาเว็บเพจที่ปรากฏคำว่า "กีฬา" แต่ต้องไม่ปรากฏคำว่า "ฟุตบอล"
การค้นหาโดยใช้เงื่อนไข "NEAR" รูปแบบการใช้งาน : A near B อธิบาย : หมายถึง เป็นการระบุให้ผลลัพธ์ของการค้นหาต้องปรากฏทั้ง A และ B และทั้งสองคำนี้จะต้องปรากฏอยู่ใกล้ๆกัน รูปแบบการค้นหาแบบนี้จะคล้ายกับการใช้เงื่อนไข "AND" แต่ต่างกันเพียง คำทั้งสองจะต้องปรากฏอยู่ห่างกันไม่เกิน 10 คำ ซึ่งเราจะเห็นว่าการใช้เงื่อนไข NEAR จะมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าการใช้เงื่อนไข "AND" ในกรณีที่คำทั้งสองมีความเกี่ยวข้องกัน โดยคาดหวังว่าคำทั้งสองน่าจะปรากฏอยู่ใกล้เคียงกัน ยกตัวอย่างเช่น เราค้นหา วัด near อยุธยา ผลลัพธ์ที่ออกมาน่าจะได้หน้าเว็บเพจที่คำว่า "วัด" และ "อยุธยา" ที่ทั้งสองคำนี้น่าจะมีความเกี่ยวข้องกัน มากกว่า วัด and อยุธยา ที่ปรากฏคำทั้งสองคำนี้ในหน้าเว็บเพจแต่อาจจะไม่เกี่ยวข้องกันเลยก็ได้ Example 4:พิมพ์ วัด near อยุธยา หมายถึง การค้นหาเว็บเพจที่มีทั้งคำว่า วัด และ อยุธยา อยู่ในหน้า เว็บเพจเดียวกัน และคำทั้งสองน่าจะปรากฏอยู่ใกล้เคียงกัน
การค้นหาโดยใช้เครื่องหมายวงเล็บ "( )" รูปแบบการใช้งาน : (A * B) โดย A และ B เป็นคำที่ต้องการค้นหา และ สัญญลักษณ์ * แทนเงื่อนไข and , or ,not และ near อธิบาย : การใช้เครื่องหมายวงเล็บคร่อมข้อความที่เป็นเงื่อนไข หมายถึง การเจาะจงให้ประมวลผลข้อความที่อยู่ภายในวงเล็บก่อน Example 5:พิมพ์ (การเมือง or เศรษฐกิจ) near รัฐสภา หมายถึง การสั่งให้ค้นหาหน้าเอกสารเว็บเพจที่ปรากฏคำว่า "การเมือง" หรือ "เศรษฐกิจ" และ จะต้องปรากฏอยู่ใกล้เคียงกับคำว่า "รัฐสภา" ด้วย
นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาในรูปแบบของ Search Bar ที่ทำให้ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องเข้าผ่านเว็บไซต์ Search Engine เหล่านั้นโดยตรงแล้ว ตัวอย่าง Search Bar ที่ขอแนะนำ เช่น Google Search Bar, Yahoo Search Bar เป็นต้น